กะตังกะติ้ว
Willughbeia edulis
 Roxb.

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ชื่อสามัญ : –

ข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง 

กะตังกะติ้ว (ภาคกลาง), คุยช้าง (ปราจีนบุรี), คุยหนัง (ระยอง), ตั่งตู้เครือ (ลำปาง), โพล้พอ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Willughbeia edulis Roxb.

ชื่อวงศ์ 

XYRIDACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ทอดเอนเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่นโดยมีมือเกาะ เปลือกลำต้นหรือเถาเรียบ เกลี้ยง สีน้ำตาลเข้ม ทุกส่วนมียางขาวข้นหรือเหลืองอ่อนๆ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 7-10 ซม. ปลายมนเป็นติ่งแหลมสั้น โคนมนหรือสอบ แผ่นใบหนาเป็นมัน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบถี่และเกือบขนานกัน มีข้างละ15-20 เส้น ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นแขนงใบสั้นๆ แทรกกลาง จึงทำให้ดูเหมือนเส้นแขนงใบถี่มากขึ้น เส้นเหล่านี้เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบเกลี้ยง ยาวไม่เกิน 1 ซม. ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆ มีน้อยดอก ดอกสีขาวหรือชมพูเรื่อๆ เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงเล็กมี 5 กลีบ ปลายกลีบมนและมีขนครุยตามขอบ กลีบดอกรูปทรงแจกัน ปลายบานออกแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกเรียวแหลม ภายในหลอดด้านในมีขนประปราย ด้านนอกเกลี้ยง เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอกด้านใน รังไข่เล็ก กลม มีช่องเดียว มีออวุลจำนวนมาก ผลกลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซม. เปลือกนอกหนา แข็ง เป็นมัน ภายในมีเยื่อนุ่มๆ สีเหลืองอ่อนซึ่งหุ้มเมล็ดอยู่ ผลแก่จัดสีเหลือง

ประโยชน์

เยื่อสีเหลืองในผลแก่กินได้ คนพื้นเมืองใช้ยางดักนก โดยเอายางนี้ไปทาไว้ตามแหล่งที่นกจะมาเกาะหรือทาไม้แล้วนำไปปักไว้ เมื่อนกมาเกาะหรือผ่านขนจะติดจนดิ้นไม่หลุด

ข้อมูลเพิ่มเติม

ถิ่นกำเนิด


การกระจายพันธุ์

อินเดีย(อัสสัม) บังคลาเทศ พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

ศรีสะเกษ,กาญจนบุรี, สระบุรี, ปราจีนบุรี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, นครศรีธรรมราช, สตูล, สงขลา

สภาพนิเวศน์

ป่าดิบสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร

เวลาออกดอก

เวลาออกผล


การขยายพันธุ์


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Santisuk, T. and Larsen, K., eds. 1999. Flora of Thailand (Vol.7: 1). Bangkok. Diamond Printing.