กล้วยอ้ายพอน
Uvaria lurida Hook.f. et Th.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
บัวบก (ชลบุรี), กล้วยอ้ายพอน (จันทบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Uvaria lurida Hook.f. et Th.
ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง พาดตามพุ่มไม้ไปได้ไกล กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง กิ่งแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-18 ซม. ปลายแหลม โคนมน ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวนวล อาจมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองเป็นกลุ่มเล็กๆ ประปรายกระจายตามเส้นกลางใบ ก้านใบยาว 3-5 มม. ดอกออกเดี่ยวๆ ที่ปลายกิ่งและตามกิ่ง ตรงข้ามกับใบหรือเยื้องกับใบเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 ซม. มีกลิ่นหอมอ่อน ก้านดอกยาว 2-3 ซม. มีกลุ่มขนสีน้ำตาลอมเหลืองประปราย กลีบเลี้ยง 3 กลีบ โคนติดกัน ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกสีแดงสด เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ขนาดเท่ากัน รูปไข่ค่อนข้างกว้าง ยาว 2-2.5 ซม. ปลายกลีบงอขึ้นเล็กน้อย กลีบด้านนอกมีขนคล้ายเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองหนาแน่น ด้านในมีขนห่างๆ เกสรเพศผู้จำนวนมากอยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม เกสรเพศเมียจำนวนมาก เรียงชิดกันแน่นอยู่ตรงกลางดอก ผลเป็นผลกลุ่ม มีจำนวนมาก อยู่บนแกนตุ้มกลม ก้านช่อผลยาว 2.5-4 ซม. แต่ละผลรูปทรงกระบอกสั้นๆ ยาว 2.4-4 ซม. ก้านผลยาว 6-8 ซม. มี 3-6 เมล็ด
ประโยชน์
–
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
แคว้นอัสสัมของอินเดียและเวียดนาม
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ภาคตะวันออกเฉียงใต้
สภาพนิเวศน์
ขึ้นตามชายป่าดิบแล้งบนพื้นที่ราบเชิงเขาจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 ม.
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–
อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.