กล้วยเต่า
Polyalthia debilis Finet et Gagnep.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กล้วยตับเต่า กล้วยเต่า (ราชบุรี), ไข่เต่า ตับเต่า ตับเต่าน้อย (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Polyalthia debilis Finet et Gagnep.
ชื่อวงศ์
PANDANACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1 ม. กิ่งอ่อนมีขนอ่อนนุ่มหนาแน่น แต่จะร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนาน จนถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-12.5 ซม. ปลายแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนมน หรือหยักเว้าเล็กน้อย แผ่นใบแคบ ด้านบนเกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่าและมีขน เส้นแขนงใบข้างละ 7-10 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 3 มม. มีขนสีเหลืองอ่อนหนาแน่น ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกสั้น กลีบเลี้ยงเล็ก มี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมกลายๆ กว้างยาวประมาณ 2 มม. ด้านนอกมีขนอ่อนนุ่ม กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 4 มม. ยาว 5-8 มม. ปลายมน ด้านนอกกลีบมีขนละเอียดสีเหลืองอ่อน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่เป็นกลุ่มบนแกนกลางดอก เกสรเพศเมีย 4 อัน อยู่ที่ปลายของแกนกลางดอก ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลรูปทรงกระบอก กว้างประมาณ 1.3 ซม. ยาว 1-2 ซม. คอดระหว่างเมล็ด ปลายเรียวแหลม มีขนสั้นอ่อนนุ่ม ก้านผลยาวประมาณ 5 มม.
ประโยชน์
ผลสุกสีเหลืองกินได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
เวียดนามและลาว
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
สภาพนิเวศน์
ขึ้นในป่าดิบ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-350 ม.
เวลาออกดอก
เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
เวลาออกผล
ผลแก่ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม
การขยายพันธุ์
–
อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.