กะเจียน
Polyalthia cerasoides (Roxb.) Benth. ex Bedd.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
ค่าสามซีก (เชียงใหม่), แคหาง (ราชบุรี), จันทน์ดง ทรายเด่น (ขอนแก่น), กะเจียน พญารากดำ (ชลบุรี), โมดดง (ระยอง), สะบันงาป่า (ภาคเหนือ), เสโพลส่า (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), เหลือง (ลำปาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Polyalthia cerasoides (Roxb.) Benth. ex Bedd.
ชื่อวงศ์
PANDANACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 ม. เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ ลำต้นเปลา เปลือกเรียบ สีเทาหรือน้ำตาลอ่อน กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป กิ่งแก่เกลี้ยง ลำต้นและกิ่งแก่มีช่องอากาศสีเหลืองอ่อนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน และมักเบี้ยว กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 8-18 ซม. ขอบเรียบ ใบอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป และขนจะค่อยๆ ร่วงไปเมื่อใบแก่ยกเว้นตามเส้นใบและเส้นแขนงใบ แผ่นใบบาง ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางหรือขาวอมเทา เส้นแขนงใบข้างละ 8-15 เส้น เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบสั้นมากและมีขนสั้นๆ ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ดอก ตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเล็กๆ มีขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอกสีเขียวอ่อน เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หนา เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง กลีบดอกชั้นในใหญ่และยาวกว่ากลีบดอกชั้นนอกเล็กน้อย ก้านดอกยาวประมาณ 3 ซม. มีขนประปราย เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลป้อม ปลายเป็นติ่ง ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดเป็นสีแสด เมื่อแห้งจะกลายเป็นสีดำ ก้านผลเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 ซม. โคนก้านติดรวมอยู่บนปลายก้านช่อที่โตเป็นตุ้ม
ประโยชน์
เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง ใช้ทำด้ามเครื่องมือเกษตรกรรมทั่วไป แพทย์แผนโบราณใช้รากและเปลือกเป็นยา
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
อินเดีย พม่า และภูมิภาคอินโดจีน
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์
ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 700 ม.
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–
อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.