กุง
Xyris pauciflora
 Willd.

ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE

ชื่อสามัญ : –

ข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง 

กุง (สงขลา), หญ้าขนไก่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Xyris pauciflora Willd.

ชื่อวงศ์ 

XYRIDACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ล้มลุก ลักษณะคล้ายหญ้า ใบเดี่ยว เรียงซ้อนสลับกันแน่นใกล้ผิวดิน รูปใบดาบ กว้าง 1-2 มม. ยาว 5-25 ซม. อาจยาวได้ถึง 33 ซม. ปลายแหลม กาบใบยาว 1.5-7 ซม. สีชมพู ช่อดอกแบบช่อเชิงลด แน่น รูปไข่หรือเกือบกลม กว้าง 2-8 มม. ยาว 3-9 มม. ก้านช่อดอกเป็นแบบก้านโดด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มม. ยาว 10-30 ซม. อาจยาวได้ถึง 44 ซม. ใบประดับซ้อนเหลื่อมคล้ายเกล็ดปลา ไม่ร่วง ใบประดับตอนล่างรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 2-4 มม. ปลายมนหรือเว้าตื้น มีขนสั้นๆ ตามแนวเส้นกลางใบ ขอบเรียบ สีน้ำตาล ใบประดับเหนือขึ้นไปรองรับดอกแต่ละดอกไว้ รูปรีถึงกลมหรือรูปไข่ กว้าง 4-5 มม. ยาว 4-6 มม. ปลายมน มีสันนูนรูปสามเหลี่ยม กว้าง 1-2 มม. สูง 1-2 มม. สีเขียวอมเทาอยู่ที่ส่วนปลายของใบประดับ ขอบเรียบ สีน้ำตาล กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ไม่เท่ากัน กลีบข้าง 2 กลีบ รูปท้องเรือ กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 3-5 มม. ปลายค่อนข้างแหลม มีสันและจักฟันเลื่อยห่างๆ ประมาณ 3 จัก เป็นเยื่อบางๆ ไม่ร่วงง่าย กลีบบนรูปช้อน ยาวประมาณ 3 มม. ร่วงเมื่อดอกบาน กลีบดอก 3 กลีบ ขนาดเท่ากัน รูปช้อน ยาว 6-9 มม. ก้านกลีบดอกยาว 4-5 มม. ปลายแผ่ออกเป็นรูปไข่กลับ กว้างประมาณ 3 มม. ยาว 2-4 มม. สีเหลือง เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดกับกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาว 1-2 มม. และเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 3 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก ยาวประมาณ 1 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก แต่ละแฉกมีขนมาก ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก รังไข่รูปไข่กลับกว้างประมาณ 1 มม. ยาว 2-3 มม. ผลแบบกระเปาะ แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดเล็ก จำนวนมาก สีเหลือง

ประโยชน์


ข้อมูลเพิ่มเติม

ถิ่นกำเนิด


การกระจายพันธุ์

จีน อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

ทั่วทุกภาค

สภาพนิเวศน์

ขึ้นในที่โล่ง ในนา และที่ชื้นแฉะ บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 1,300 ม.

เวลาออกดอก

ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกุมภาพันธ์

เวลาออกผล


การขยายพันธุ์


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.