กะตังกะติ้ว
Willughbeia edulis Roxb.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กะตังกะติ้ว (ภาคกลาง), คุยช้าง (ปราจีนบุรี), คุยหนัง (ระยอง), ตั่งตู้เครือ (ลำปาง), โพล้พอ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Willughbeia edulis Roxb.
ชื่อวงศ์
XYRIDACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มกึ่งไม้เถา ทอดเอนเกาะเกี่ยวต้นไม้อื่นโดยมีมือเกาะ เปลือกลำต้นหรือเถาเรียบ เกลี้ยง สีน้ำตาลเข้ม ทุกส่วนมียางขาวข้นหรือเหลืองอ่อนๆ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 7-10 ซม. ปลายมนเป็นติ่งแหลมสั้น โคนมนหรือสอบ แผ่นใบหนาเป็นมัน ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน เส้นแขนงใบถี่และเกือบขนานกัน มีข้างละ15-20 เส้น ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นแขนงใบสั้นๆ แทรกกลาง จึงทำให้ดูเหมือนเส้นแขนงใบถี่มากขึ้น เส้นเหล่านี้เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบเกลี้ยง ยาวไม่เกิน 1 ซม. ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ช่อหนึ่งๆ มีน้อยดอก ดอกสีขาวหรือชมพูเรื่อๆ เมื่อบานเต็มที่กว้างประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยงเล็กมี 5 กลีบ ปลายกลีบมนและมีขนครุยตามขอบ กลีบดอกรูปทรงแจกัน ปลายบานออกแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกเรียวแหลม ภายในหลอดด้านในมีขนประปราย ด้านนอกเกลี้ยง เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอกด้านใน รังไข่เล็ก กลม มีช่องเดียว มีออวุลจำนวนมาก ผลกลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซม. เปลือกนอกหนา แข็ง เป็นมัน ภายในมีเยื่อนุ่มๆ สีเหลืองอ่อนซึ่งหุ้มเมล็ดอยู่ ผลแก่จัดสีเหลือง
ประโยชน์
เยื่อสีเหลืองในผลแก่กินได้ คนพื้นเมืองใช้ยางดักนก โดยเอายางนี้ไปทาไว้ตามแหล่งที่นกจะมาเกาะหรือทาไม้แล้วนำไปปักไว้ เมื่อนกมาเกาะหรือผ่านขนจะติดจนดิ้นไม่หลุด
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
อินเดีย(อัสสัม) บังคลาเทศ พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม ภูมิภาคมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ศรีสะเกษ,กาญจนบุรี, สระบุรี, ปราจีนบุรี, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, นครศรีธรรมราช, สตูล, สงขลา
สภาพนิเวศน์
ป่าดิบสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 900 เมตร
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–
อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.
2) Santisuk, T. and Larsen, K., eds. 1999. Flora of Thailand (Vol.7: 1). Bangkok. Diamond Printing.