กะเจียน
Polyalthia cerasoides (Roxb.) Benth. ex Bedd.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ชื่อสามัญ : –

ข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง 

ค่าสามซีก (เชียงใหม่), แคหาง (ราชบุรี), จันทน์ดง ทรายเด่น (ขอนแก่น), กะเจียน พญารากดำ (ชลบุรี), โมดดง (ระยอง), สะบันงาป่า (ภาคเหนือ), เสโพลส่า (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), เหลือง (ลำปาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Polyalthia cerasoides (Roxb.) Benth. ex Bedd.

ชื่อวงศ์ 

PANDANACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 ม. เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ ลำต้นเปลา เปลือกเรียบ สีเทาหรือน้ำตาลอ่อน กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป กิ่งแก่เกลี้ยง ลำต้นและกิ่งแก่มีช่องอากาศสีเหลืองอ่อนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน และมักเบี้ยว กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 8-18 ซม. ขอบเรียบ ใบอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป และขนจะค่อยๆ ร่วงไปเมื่อใบแก่ยกเว้นตามเส้นใบและเส้นแขนงใบ แผ่นใบบาง ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางหรือขาวอมเทา เส้นแขนงใบข้างละ 8-15 เส้น เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบสั้นมากและมีขนสั้นๆ ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ดอก ตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเล็กๆ มีขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอกสีเขียวอ่อน เรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หนา เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง กลีบดอกชั้นในใหญ่และยาวกว่ากลีบดอกชั้นนอกเล็กน้อย ก้านดอกยาวประมาณ 3 ซม. มีขนประปราย เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อยู่ชิดกันแน่นเป็นพุ่มกลม ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม แต่ละผลป้อม ปลายเป็นติ่ง ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดเป็นสีแสด เมื่อแห้งจะกลายเป็นสีดำ ก้านผลเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 ซม. โคนก้านติดรวมอยู่บนปลายก้านช่อที่โตเป็นตุ้ม

ประโยชน์

เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง ใช้ทำด้ามเครื่องมือเกษตรกรรมทั่วไป แพทย์แผนโบราณใช้รากและเปลือกเป็นยา

ข้อมูลเพิ่มเติม

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์

อินเดีย พม่า และภูมิภาคอินโดจีน

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

ทั่วทุกภาค

สภาพนิเวศน์

ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 700 ม.

เวลาออกดอก


เวลาออกผล


การขยายพันธุ์


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.