การะเกดหนู
Pandanus pygmaeus Thouars
ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
การะเกดหนู
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pandanus pygmaeus Thouars
ชื่อวงศ์
PANDANACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 30-60 ซม. แตกเป็นกอ มีรอยแผลใบและมีรากค้ำยัน ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกันแน่น รูปขอบขนานแคบ กว้าง 0.6-1.3 ซม. ยาว 30-50 ซม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลายใบ โคนแผ่ออกเป็นกาบ ตามขอบใบและเส้นกลางใบทางด้านล่างมีหนามเล็กๆ หนาแน่น บางครั้งพบมีหนามด้านบนใกล้ๆ ปลายใบ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ออกตามปลายยอด ดอกเล็ก มีจำนวนมากติดบนแกนของช่อ ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้ตั้งตรง ยาว 3-5 ซม. มีกาบสีนวลหุ้ม กลิ่นหอม มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูตั้งตรงติดกับก้านเกสรเพศผู้ที่โคน ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง มีดอก 4-6 ดอก กาบรูปท้องเรือ ขอบจักฟันเลื่อยละเอียด ยอดเกสรเพศเมียมี 2 พู ผลรูปรี ขนาดประมาณ 1.5 ซม. ผลที่อยู่ชิดติดกันแต่ละผลรูปไข่กลับ สอบแคบ ภายในมีโพรงอากาศขนาดใหญ่ เมล็ดเล็ก
ประโยชน์
นำไปปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
พรรณไม้พื้นเมืองของประเทศมาดากัสการ์
การกระจายพันธุ์
นำไปปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
พันธุ์ที่นำมาปลูกในประเทศไทยเป็นพันธุ์ด่าง พื้นใบเขียวขอบเหลือง
สภาพนิเวศน์
–
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–
อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.