เกี๋ยงป่า
Pandanus furcatus Roxb.
ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
เก๋งหลวง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เกี๋ยงป่า เกี๋ยงหลวง เตย (ภาคเหนือ), ชั้งลี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ชนัง มะขะนัดป่า (ละว้า-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pandanus furcatus Roxb.
ชื่อวงศ์
PANDANACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น สูง 4-5 ม. มีรากค้ำยัน ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกันแน่นที่ปลายลำต้น รูปขอบขนาน กว้าง 4.5-8.5 ซม. ยาวประมาณ 2 ม. ค่อยๆ เรียวแหลมไปหาปลายใบ โคนแผ่ออกเป็นกาบ เนื้อใบหนาเป็นมัน ที่ขอบใบมีหนามยาว 2 มม. ตอนโคนหนามห่าง ตอนปลายหนามถี่ ตรงปลายสุดหนามยาวประมาณ 1 มม. เส้นกลางใบด้านล่างมีหนามยาวห่างๆ เส้นใบขนานไปตามความยาวขอบใบ เห็นชัดทั้ง 2 ด้าน ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น มีจำนวนมาก ติดบนแกนกลางของช่อ มีกาบเนื้อค่อนข้างหนาเป็นมัน ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้กว้างประมาณ 3 ซม. ยาวประมาณ 15 ซม. กลิ่นหอม แต่ละดอกมีเกสรเพศผู้ 8-14 อัน ต่อหนึ่งกลุ่ม อับเรณูแหลมมีติ่ง ช่อดอกเพศเมียรูปขอบขนาน ออกเดี่ยวๆ ดอกเพศเมียปลายมีหนามเป็นง่าม มีออวุล 1 เม็ด ช่อผลเป็นแท่งรูปรีหรือทรงกระบอก มีผลอัดแน่นบนแกน แก่จัดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 20-60 ซม. สุกสีเหลืองมีกลิ่นหอม แกนกินได้ ก้านช่อผลยาวประมาณ 15 ซม. แต่ละผลยาว 2.5-5 ซม. รูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ผลที่อยู่ตอนโคนสั้นยอดแบน มี 2 ปุ่ม ผลตอนกลางมี 5-7 ปุ่ม แต่ละปุ่มมีหนามเป็นง่ามแข็ง ผลที่อยู่ตอนปลายยาวยอดมีหนามแหลม
ประโยชน์
แกนที่ติดของผลกินได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
อินเดีย เทือกเขาหิมาลัย พม่า และหมู่เกาะมลายู
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ภาคเหนือ
สภาพนิเวศน์
–
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–
อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.