กระหมุดปลาไหล
Glochidion rubrum Blume
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กระดุมผี (ระยอง), กือนอง (มลายู-ภาคใต้), กระดุมพี ขัดนะ (ตรัง), ชุมเส็ด มะรวด (สุราษฎร์ธานี), ตานา (หนองคาย), นกนอน (นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Glochidion rubrum Blume
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 ม. กิ่งห้อยย้อยลง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา เรียบหรือเป็นสะเก็ดเล็กๆ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนนุ่มละเอียดสั้นๆ แต่จะร่วงไปเมื่อกิ่งแก่ ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม เส้นแขนงใบข้างละ 5-8 เส้น แผ่นใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน มีขนประปรายโดยเฉพาะตามเส้นแขนงใบ ก้านใบสั้นมาก ดอกเล็ก สีเหลืองหรือส้ม แยกเพศแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ออกเป็นกระจุกหรือเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้มีกลีบรวม 6 กลีบ แต่ละกลีบยาวประมาณ 2 มม. ขอบกลีบเรียงเกยซ้อนกัน โคนติดกันเป็นรูปถ้วย เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านดอกเพศผู้ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกเพศเมียมีจำนวนกลีบเลี้ยงและขนาดเท่ากันกับดอกเพศผู้ แต่ก้านดอกสั้นมาก รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ผลแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มี 6 พู เปลือกแข็ง เมื่อสุกสีแดงและแตก เมล็ดสีน้ำตาล
ประโยชน์
ในชวาใช้เป็นยาขับเสมหะ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ทั่วทุกภาค พบมากทางภาคใต้
สภาพนิเวศน์
ขึ้นทั่วไปในป่าดิบ บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 350 ม.
เวลาออกดอก
เดือนมกราคม-พฤษภาคม
เวลาออกผล
ผลสุกระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์
–