กระหมุดปลาไหล (นครราชสีมา)
Genianthus crassifolius Hook. f., ASCLEPIADACEAE
ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กระหมุดปลาไหล (นครราชสีมา)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Genianthus crassifolius Hook. f.
ชื่อวงศ์
ASCLEPIADACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถา มียางขาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มและเกลี้ยง ด้านล่างสีขาวมีขนสีน้ำตาลโดยเฉพาะตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ช่อดอกเป็นช่อเดี่ยวหรือช่อแยกแขนงออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ยาว 5-10 ซม. ดอกเล็ก สีขาวขุ่น เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ยาวประมาณ 1 ใน 4 ของกลีบดอก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกเรียวยาวมี 5 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ด้านในมีขนสีขาวเป็นปุย เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูติดกับผนังกลีบดอก อับเรณูประกบกันเป็นรูปกรวยคว่ำ ฝักรูปทรงกระบอก เมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดมีจำนวนมาก เล็ก แบน ตอนปลายมีขนยาวละเอียดติดอยู่เป็นพู่
ประโยชน์
–
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
อินเดีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
อินเดีย
สภาพนิเวศน์
ขึ้นในป่าดิบ
เวลาออกดอก
เดือนธันวาคมถึงมกราคม
เวลาออกผล
ผลแก่ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน
การขยายพันธุ์
–
อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.