โกงกางเขา
Fagraea ceilanica Thunb.

ชื่อวงศ์ : LOGANIACEAE

ชื่อสามัญ : –

ข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง 

นางสวรรค์ นิ้วนางสวรรค์ (ภาคใต้), ฝ่ามือผี (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), โพดา (ปัตตานี), เทียนฤาษี (ภาคเหนือ), โกงกางเขา (จันทบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Fagraea ceilanica Thunb.

ชื่อวงศ์ 

LOGANIACEAE

ชื่อสามัญ


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น อิงอาศัยอยู่บนต้นไม้หรือขึ้นตามพื้นดิน หรือบางครั้งเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 3-15 ม. กิ่งก้านเกลี้ยง ข้อถี่ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีรูปร่างหลายแบบตั้งแต่รูปไข่ รูปไข่กลับ ไปจนถึงรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอกแคบ กว้าง 2-9 ซม. ยาว 4-35 ซม. โคนสอบ มน หรือค่อนข้างเป็นรูปหัวใจ ปลายมนแล้วค่อยแหลมเป็นติ่งสั้น ขอบเรียบ ใบค่อนข้างหนาเป็นมัน เมื่อแห้งสีน้ำตาลแกมเขียวมะกอก ด้านล่างสีเข้มกว่าด้านบน เส้นกลางใบเห็นชัดทางด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ 4-8 เส้น เห็นไม่ชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 0.5-3.5 ซม. ช่อดอกออกใกล้ๆ ปลายยอด ก้านดอกยาว 0.2-3.5 ซม. มีใบประดับ 2 ใบ ขนาดเล็กหรือยาวถึง 2 ซม. อยู่ใต้กลีบเลี้ยงบริเวณกึ่งกลางของก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงยาว 1-2.5 ซม. โคนติดกันกว่าครึ่งหนึ่งเป็นรูประฆัง ปลายจักลึก กลีบดอกสีขาวนวล ติดกันเป็นรูปกรวย ยาว 2-5 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบกลม สั้นกว่าหลอดดอก เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูโคนหนา อับเรณูรูปขอบขนานหรือรูปไข่ ยาว 5-8 มม. รังไข่รูปไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาวเท่ากับเกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียแผ่เป็นรูปจาน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. ผลรูปไข่ รูปรี หรือค่อนข้างกลม ยาว 3-5 ซม. มีจะงอยยาว สีเขียวขุ่นๆ กลีบเลี้ยงโอบหุ้มผล

ประโยชน์

ปลูกเป็นไม้ประดับ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ถิ่นกำเนิด


การกระจายพันธุ์

อินเดีย ศรีลังกา พม่า ลาว เวียดนาม จีนตอนใต้ หมู่เกาะไต้หวันตอนใต้ มาเลเซีย

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

เชียงใหม่, เชียงราย, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, เลย, สกลนคร, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, กาญจนบุรี, กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, ตราด, ระนอง, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, สตูล, ยะลา, นราธิวาส

สภาพนิเวศน์

ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา

เวลาออกดอก


เวลาออกผล


การขยายพันธุ์