กะเม็ง
Eclipta prostrata (L.) L.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ชื่อสามัญ : False Daisy, White Head
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กะเม็ง กะเม็งตัวเมีย คัดเม็ง (ภาคกลาง), หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว (ภาคเหนือ), บังกีเช้า (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Eclipta prostrata (L.) L.
ชื่อวงศ์
ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ชื่อสามัญ
False Daisy, White Head
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก ลำต้นแตกกิ่ง มีขน ทอดไปตามพื้นหรือตั้ง สูง 10-60 ซม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 0.6-2.5 ซม. ยาว 3-10 ซม. โคนเรียวแหลม ขอบเรียบหรือจักห่างๆ 2-3 จักช่วงปลายใบ แผ่นใบทั้ง 2 ด้านมีขนสั้นสาก ไม่มีก้านใบหรือก้านสั้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเป็นช่อเดี่ยวที่ยอด หรือ 1-3 ช่อตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 0.5-7 ซม. มีขนสั้นสาก วงใบประดับ 5-6 ใบ สีเขียว รูปไข่ปลายแหลม ยาวประมาณ 5 มม. และมีขนตามขอบส่วนปลาย ดอกวงนอกรูปลิ้น เป็นดอกเพศเมีย มี 3-5 ดอก กลีบดอกสีขาว กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 3 มม. ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ดอกวงในกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 กลีบ สีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลจากดอกวงนอกรูปสามเหลี่ยมสันมน ส่วนผลจากดอกวงในรูปสี่เหลี่ยมสันมน ยาว 2-8 มม. ผลแก่แห้งสีดำ ไม่แตก
ประโยชน์
ทั้งต้นผสมกับลูกมะเกลือดิบโขลกใช้ย้อมผ้าให้ดำ ต้นกะเม็งใช้เป็นยาบำรุงเลือด ใบและรากใช้เป็นยาถ่ายและทำให้อาเจียน รากใช้เป็นยาขับลม ในอินเดียใช้น้ำคั้นจากต้นสดมาสักเพื่อให้รอยสักเป็นสีเขียวคราม ใช้ย้อมผมให้ดำ ใบใช้โขลกพอกแผลสดห้ามเลือด ในอินโดนีเซียใช้น้ำคั้นจากลำต้นทาแก้ขี้กลาก
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
เขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์
ขึ้นตามที่ดอนและที่ลุ่มชื้นทั่วไป
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–