กูดปิ้ด
Dicranopteris linearis (Burm.f.) Underw.
ชื่อวงศ์ : GLEICHENIACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กูดปิ้ด (ภาคเหนือ), กิ๊กุกะเจ้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กือแก รือแซ (มลายู-นราธิวาส), กูดหมึก (เชียงใหม่), กูดแต้ม (นราธิวาส), โจ้นเหล็ก (ชุมพร), โชน (ยะลา, ระนอง)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dicranopteris linearis (Burm.f.) Underw.
ชื่อวงศ์
GLEICHENIACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เฟิร์น เหง้าทอดยาว ใบประกอบแบบขนนก แกนกลางใบประกอบแยกสาขาเป็นคู่ 2-3 ครั้ง ตาที่ยอดมีหูใบ 1 คู่ สาขาของแกนกลางใบประกอบที่ 3 แยกเป็นคู่ขนาดใกล้เคียงกัน ทำมุมประมาณ 60 องศา ต่อกัน หยักเป็นแฉกลึกเกือบถึงแกน แฉกรูปแถบ ปลายมน ขอบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างแข็ง มีนวลทางด้านล่าง เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ 1-3 ครั้ง เห็นได้ชัดทางด้านล่าง กลุ่มอับสปอร์รูปกลม เรียงตัวอยู่บนเส้นใบเห็นเป็น 2 แถว อยู่ 2 ข้างเส้นกลางแฉก ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์
ประโยชน์
เป็นพืชที่ช่วยคลุมดินป้องกันการกัดเซาะของหน้าดินได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ก่อสร้างทางตัดผ่านภูเขา
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
เขตร้อนของทวีปเอเชียและแอฟริกา
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์
ขึ้นอยู่กลางแจ้งหรือตามชายป่า บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 ม.
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–