กระแดะ
Caesalpinia pubescens (Desf.) Hatt.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ชื่อสามัญ : –

ข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง 

กระแดะ กาแด๊ะ (สุราษฎร์ธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Caesalpinia pubescens (Desf.) Hatt.

ชื่อวงศ์ 

LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ชื่อสามัญ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถาเนื้อแข็งหรือไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นและก้านใบมีหนามงองุ้มคล้ายหนามกุหลาบห่างๆ กิ่งอ่อน ใบอ่อน และก้านช่อดอกมีขนอ่อนนุ่มสั้นๆ แต่จะค่อยๆ ร่วงไป ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 25-50 ซม. หูใบเล็กเรียวแหลม ใบประกอบแยกแขนงตรงข้ามกัน 6-8 คู่ แต่ละแขนงมีใบย่อยขนาดเล็ก เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้ามกัน 6-12 คู่ ใบย่อยรูปรี กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-1.5 ซม. ปลายมนหรือหยักเว้า โคนเฉียง ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ก้านดอกยาวประมาณ 2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกมีขนสั้นสีน้ำตาลอมเหลือง กลีบนอกสุดเรียวแหลม ยาวประมาณ 1.5 ซม. กลีบอื่นๆ ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 มม. โคนติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง ปลายแผ่กว้างค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. แล้วเรียวคอดลงมาเป็นก้านกลีบยาว 2-4 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่มีขน ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ฝักรูปขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ขอบด้านบนแผ่เป็นครีบตามความยาวของฝัก โคนฝักเรียวแหลม ปลายมน มี 4-7 เมล็ด เมล็ดแบน เรียงสลับกันอยู่ตอนกลางฝัก

ประโยชน์


ข้อมูลเพิ่มเติม

ถิ่นกำเนิด


การกระจายพันธุ์

เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

ภาคใต้, สุราษฎร์ธานี

สภาพนิเวศน์

ขึ้นตามป่าละเมาะหรือตามชายป่า

เวลาออกดอก

เดือนสิงหาคม

เวลาออกผล

ฝักแก่ประมาณเดือนพฤศจิกายน

การขยายพันธุ์