กระจาย
Caesalpinia decapetala (Roth) Alston

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ชื่อสามัญ : Cat’s Claw, Mysore Thorn, Wait-a-bit

ข้อมูลพรรณไม้

ชื่อพื้นเมือง 

กระจาย กำจาย หนามโค้ง หนามจาย (ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์ 

Caesalpinia decapetala (Roth) Alston

ชื่อวงศ์ 

LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ชื่อสามัญ

Cat’s Claw, Mysore Thorn, Wait-a-bit

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มรอเลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นยาว 2.5-10 ม.กิ่งมีหนามโค้งหรือตรง กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆ กิ่งแก่เกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 12-40 ซม. มีหนาม หูใบรูปไข่เบี้ยว กว้าง 2-8 มม. ยาว 0.4-2 ซม. ร่วงง่าย ใบประกอบแยกแขนง 4-10 แขนง แต่ละแขนงยาว 2.5-8 ซม. มีขน ใบย่อย 8-12 คู่ เล็กมาก รูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายมน โคนเบี้ยว ก้านใบย่อยสั้นมาก ช่อดอกสั้น ออกที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 2-4 ซม. มีขนประปราย มีรอยต่อที่ตอนปลายก้าน ใบประดับรูปไข่แกมรูปใบหอก ยาว 5-8 มม. ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกลี้ยงหรือมีขนประปราย ขนาดไม่เท่ากัน กลีบล่างโค้งเป็นกระพุ้ง กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง ขนาดไม่เท่ากัน กลีบบนเล็กกว่ากลีบอื่นๆ ปลายมนหยักคอดตรงกลางลงมาเป็นแถบแคบๆ แผ่นกลีบด้านในและขอบกลีบมีขน เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่เกลี้ยงหรือมีขนประปราย มีออวุล 8-10 เม็ด ฝักแบน รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายมีจะงอยยาวประมาณ 2 ซม. ขอบด้านบนเป็นสันหรือครีบแคบๆ มี 2-8 เมล็ด เมล็ดแบน รูปรีกว้าง กว้างประมาณ 6 มม. ยาวประมาณ 1 ซม.

ประโยชน์

ข้อมูลเพิ่มเติม

ถิ่นกำเนิด


การกระจายพันธุ์

จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฎาน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และหมู่เกาะมลายู

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้, ปราจีนบุรี, ภูเก็ต

สภาพนิเวศน์

ค่อนข้างหายาก ขึ้นห่างๆ ตามป่าดิบแล้งในระดับต่ำ

เวลาออกดอก

เวลาออกผล

การขยายพันธุ์