กระถินหางกระรอก
Dichrostachys cinerea (L.) Wight & Arn.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กระถินหางกระรอก นมเสือ หางเสือ (กรุงเทพมหานคร)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dichrostachys cinerea (L.) Wight & Arn.
ชื่อวงศ์
LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 1-8 ม. บางครั้งมีหน่อมากมายเกิดขึ้นใกล้ลำต้น ตามต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกเรียบ สีเทา กิ่งแผ่ออกทางด้านข้างของลำต้น กิ่งอ่อนมีขน ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้าม แกนกลางใบประกอบยาว 5-20 ซม. แยกแขนง 5-19 คู่ แต่ละแขนงยาว 3-5 ซม. ตรงรอยต่อระหว่างแกนกลางใบประกอบกับแขนงมีต่อมนูนสีคล้ำชัดเจน ใบย่อย 9-41 คู่ เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 1-4 มม. ยาว 0.4-1.1 ซม. ไม่มีก้านใบย่อย ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกตามง่ามใบเป็นช่อเดี่ยวหรือ 2-3 ช่อ ห้อยลง ยาว 2-5 ซม. แต่ละช่อมีดอกเล็กๆ ที่ไม่มีก้านดอกจำนวนมากอัดตัวกันแน่น โคนช่อสีม่วงอมชมพู ปลายสีเหลือง ช่อดอกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนโคนช่อเป็นรูปทรงกระบอกกว้าง ประกอบด้วยดอกเป็นหมัน ซึ่งมีเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ ส่วนปลายช่อเป็นรูปทรงกระบอกแคบ ประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ เป็นจักสั้นมาก กลีบดอก 5 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดสั้น เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวประมาณ 3 มม. ฝักเป็นกระจุก รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2-10 ซม. ฝักแก่จะบิดแต่ไม่แตก มีหลายเมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลเป็นมัน กว้าง 3-4 มม. ยาว 4-6 มม.
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปเพราะดอกสวยและมีกลิ่นหอม
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
พรรณไม้พื้นเมืองของทวีปแอฟริกาเขตร้อน
การกระจายพันธุ์
–
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
เป็นไม้นำเข้า
สภาพนิเวศน์
–
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–