กระดังงา
Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กระดังงา (ตรัง, ยะลา), กระดังงาไทย กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง), สะบันงา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.
ชื่อวงศ์
ANNONACEAE
ชื่อสามัญ
Ylang-ylang Tree
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง 10-20 ม. เปลือกต้นสีเทา มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไป กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง กิ่งอ่อนมีขน กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปไข่ยาว กว้าง 4-8 ซม. ยาว 9-20 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น เส้นแขนงใบข้างละ 5-9 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ใบอ่อนมีขนทั้ง 2 ด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบและเส้นกลางใบ ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ช่อดอกสั้น ออกห้อยรวมกันบนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อหนึ่งๆ มี 3-6 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-1 ซม. มีขน ดอกใหญ่ ก้านดอกยาว 2-5 ซม. มีขน โคนก้านดอกมีใบประดับรูปไข่ปลายแหลม 2 ใบ ขนาด1-2 มม. ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ขนาด 5-7 มม. มีขน กลีบดอกเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปขอบขนานปลายแหลม กว้าง 0.6-1.6 ซม. ยาว 5-9 ซม. มีขน ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบชั้นในแคบกว่าชั้นนอกเล็กน้อย โคนกลีบด้านในสีม่วงอมน้ำตาล ดอกอ่อนกลีบสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน ผลเป็นผลกลุ่ม อยู่บนแกนตุ้มกลม 4-15 ผล แต่ละผลรูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. ก้านผลยาว 1-2 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวคล้ำจนเกือบดำ มี 2-12 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน กว้างประมาณ 6 มม. ยาวประมาณ 9 มม. หนาประมาณ 2 มม.
ประโยชน์
ปลูกเป็นไม้ประดับ ไทยใช้ดอกกระดังงาปรุงยาบางตำรับเพื่อแก้ลมและบำรุงเลือด ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังใช้อบน้ำทำน้ำเชื่อมและปรุงขนมหวานบางชนิด อินโดนีเซียใช้เปลือกแก้คัน มาเลเซียใช้ใบแก้คัน และใช้ดอกปรุงในยารักษาโรคหืด
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
ภูมิภาคมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์
–
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ดหรือกิ่งตอน