กระโดงแดง
Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou
ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE
ชื่อสามัญ : –
ข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพื้นเมือง
กระบกคาย (ศรีสะเกษ), ขมัน (สุรินทร์), ละโมก (ตราด), ลายอกายู (มลายู-ยะลา), กระโดงแดง ประดงแดง (ชลบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou
ชื่อวงศ์
CELASTRACEAE
ชื่อสามัญ
–
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. มีพอนที่โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว พุ่มใบแน่น เปลือกสีน้ำตาล ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว กิ่งอ่อนแบนเป็นเหลี่ยม มีหูใบรูปกรวยแหลมที่ปลายกิ่ง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบแต่ย่นเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเลื่อมเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกันเว้นระยะห่างค่อนข้างสม่ำเสมอ ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นขั้นบันได ก้านใบยาว 2.5-4 ซม. ปลายก้านใบที่ต่อกับแผ่นใบป่องและโค้งเล็กน้อย ช่อดอกแบบหางกระรอก ออกบนช่อแยกแขนงที่แตกแขนงด้านข้างออกไป ทำให้ช่อแยกแขนงแต่ละช่อมีช่อดอกแบบหางกระรอกจำนวนหลายช่อ ช่อแยกแขนงยาว 14-30 ซม. ช่อดอกแบบหางกระรอกยาว 5-14 ซม. มีดอกที่มีก้านสั้นๆ จำนวนมาก ดอกเล็กมาก สีเหลืองอมเขียว กลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดอยู่รอบนอกจานฐานดอกที่ล้อมรอบฐานรังไข่ ผลรูปกรวยแหลม ส่วนปลายเป็นจะงอยโค้งเล็กน้อย กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 2.7-3.4 ซม. ผลแก่สีเหลืองและแตกออกตามรอยประสานด้านข้าง มี 1 เมล็ด เมล็ดแข็ง รูปรี กว้างประมาณ 9 มม. ยาว 2-2.5 ซม. มีเนื้อสีเหลืองหุ้มตลอดหรือเพียงบางส่วน
ประโยชน์
–
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถิ่นกำเนิด
–
การกระจายพันธุ์
อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย จนถึงเกาะสุมาตรา และบอร์เนียว
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์
ขึ้นในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง บนพื้นที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก แต่ทางภาคเหนือขึ้นได้ในป่าดิบเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 ม.
เวลาออกดอก
–
เวลาออกผล
–
การขยายพันธุ์
–